เมนู

บทว่า อรหามิ วตฺตเว แปลว่า ควรกล่าว. ได้ยินว่า การเตือนของเทวดา
ก็เช่นกับคำสอนของพระสุคต. บุคคลเลวน้อมไปเลว และปฏิบัติผิด ย่อมไม่ได้
รับการเตือนนั้น. ส่วนบุคคลควรแก่มรรคผลในอัตภาพนั้น ย่อมได้การเตือน
นั้น. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สุจิคเวสิโน คือ ผู้แสวงหาศีล
สมาธิและญาณที่สะอาด. บทว่า อพฺภามตฺตํว คือเหมือนสักว่าก้อนเมฆ
บทว่า ชานาสิ ได้แก่ รู้ว่าผู้นี้บริสุทธิ์. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า พึงกล่าว.
บทว่า เนว ตํ อุปชีวามิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้คิดว่า มีเทวดาผู้หวังดี
แก่เราจักเตือนจักชี้แจงเอง ดังนี้ จึงประกอบความประมาทว่า เราจักไม่รับคำ
ของเขา เพราะฉะนั้น เทวดาจึงกล่าวอย่างนี้ . บทว่า ตฺวเมว แปลว่า ท่าน
เอง. บทว่า ชาเนยฺย แปลว่า พึงรู้. บทว่า เยน คือด้วยกรรมใด. ความ
ว่า ท่านจะพึงไปสู่สุคติ ท่านเองจะพึงรู้กรรมนั้น.
จบอรรถกถาปทุมปุปผสูตร ที่ 14
จบอรรถกถาวนสังยุต ด้วยประการฉะนี้.


รวมพระสูตรแห่งวนสังยุต มี 14 สูตร คือ


1. วิเวกสูตร 2. อุปัฏฐานสูตร 3. กัสสปโคตตสูตร 4. สัมพหุล
สูตร 5. อานันทสูตร 6. อนุรุทธสูตร 7. นาคทัตตสูตร 8. กุลฆรณีสูตร
9. วัชชีปุตตสูตร 10. สัชฌายสูตร 11. อโยนิโสมนสิการสูตร 12. มัชฌัน-
ติกสูตร 13. ปากตินทริยสูตร 14. ปทุมปุปผสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

ยักขสังยุต



1. อินทกสูตร



ว่าด้วยสัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์อย่างไร



[801] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทก
ยักษ์ครอบครอง ในกรุงราชคฤห์.
[802] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบ
ทูลด้วยคาถาว่า
ท่านผู้รู้ทั้งหลายไม่กล่าวรูปว่า
เป็นชีพ สัตว์นี้จะประสบร่างกายนี้ได้
อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อจะมา
แต่ไหน สัตว์นี้จะติดอยู่ในครรภ์ได้
อย่างไร.

[803] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
รูปนี้เป็นกลละล่อน จากกลละเป็น
อัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิ
เกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น 5 ปุ่ม
(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ
(เป็นต้น ) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ใน
ครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ก็ยังอัตภาพ
ให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น ในครรภ์นั้น.